見出し画像

【APSthai】หลักสูตรของ“Daigaku (มหาวิทยาลัย)” ในญี่ปุ่นเป็นอย่างไร? เรียน 4 ปีแบบไหนบ้าง?[Study in Japan]

มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นเป็นอย่างไรบ้าง? นิสิตนักศึกษาญี่ปุ่นเรียนอย่างไรบ้าง? มหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในญี่ปุ่นมีหลักสูตรเป็น 4 ปีเหมือนกับมหาวิทยาลัยไทยก็จริง แต่เป็นไปได้ว่าชีวิตของนักศึกษาต่างกันบทความนี้จะแนะนำวิถีเรียนของนักศึกษาญี่ปุ่นในมหาวิทยาลัย ให้ผู้อ่านสามารถนึกถึงได้

มหาวิทยาลัยญี่ปุ่นมีคณะอะไรบ้าง?

นี่คือคณะ(学部, gakubu)ในมหาวิทยาลัย(university)ธรรมดาในญี่ปุ่น แน่นอนว่าชื่อคณะและประเภทของคณะนั้น จะขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย อีกทั้งมีมหาวิทยาลัยเชิงเฉพาะทางอีกจำนวนมาก ครั้งนี้ผมแนะนำคณะในมหาวิทยาลัยทั่ว ๆ ไป โดยใช้ตัวอย่างข้างบน เราสามารถแบ่งคณะเหล่านั้นเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคณะสายศิลป์และกลุ่มคณะสายวิทย์

ข้างในคณะมีสาขาวิชา(学科, gakka)หลากหลายแห่ง

คณะอักษรศาสตร์ (文学部, bungakubu) มีความหลากหลายมากที่สุดในกลุ่มคณะสายศิลป์ เช่น วรรณกรรมญี่ปุ่น(国文学, koku-bungaku)วรรณกรรมอังกฤษ-อเมริกา(英米文学, eibei-bungaku)ปรัชญา(哲学, tetsugaku)ประวัติศาสตร์(歴史学, rekishi-gaku)นอกจากนั้น คณะอักษรศาสตร์ในมหาวิทยาลัยบางแห่งมีสาขาเกี่ยวกับจิตวิทยา (心理学, shinri-gaku) และสังคมศาสตร์ (社会学, shakai-gaku)

มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่มีคณะรัฐศาสตร์ มีสาขารัฐศาสตร์ (政治学, seiji-gaku) ในคณะนิติศาสตร์ (法学部, hougakubu)

คณะวิทยาศาสตร์ (理学部, rigakubu) ก็มีทั้งสาขาคณิตศาสตร์ (数学, sugaku) ฟิสิกส์ (物理学, butsurigaku) เคมี (化学, kagaku) และชีววิทยา (生物学, seibutsugaku) ให้ครบ

สรุปได้ว่าคณะในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นค่อนข้องคล้ายกับของมหาวิทยาลัยในไทย แต่บางที่ต่างกันนิดหน่อย เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องระวังในยามพิจารณาการเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ถ้าอย่างนั้น นักศึกษาคนญี่ปุ่นใช้ชีวิตในทั้ง 4 ปีอย่างไรบ้าง? แตกต่างกับนักศึกษาคนไทยในตรงไหนบ้าง?

ชีวิตทั้ง 4 ปีของนิสิตนักศึกษาคนญี่ปุ่นเป็นอย่างไรบ้าง?

1 ปีในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นเริ่มเมษายนและจบมีนาคม

1 ปีมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นโดยส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 2 เทอม (学期, gakki) ก็คือ เทอมแรก (前期, zenki) หรือเทอมฤดูใบไม้ผลิ (春期, shunki/春学期, haru-gakki) และเทอมหลัง (後期, koki) หรือเทอมฤดูใบไม้ร่วง (秋期, shuki/秋学期, aki-gakki)

เทอมแรกเปิดตั้งแต่ต้นเดือนเมษาถึงปลายเดือนกรกฎาคม หลังจากนั้นปิดเทอมจนถึงเปิดเทอมหลังในปลายเดือนกันยายน เรียกช่วงนี้ว่า ช่วงปิดเทอมในฤดูร้อน (夏休み, natsu-yasumi) เทอมหลังเปิดตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงกุมภาพันธ์ หลังจากนั้นปิดเทอมจนถึงเปิดเทอมใหม่อีกในต้นเดือนเมษายน เรียกว่า ช่วงปิดเทอมในฤดูหนาว (冬休み, fuyu-yasumi)

มหาวิทยาวัยบางแห่งจัดตั้งการแบ่งเทอมเป็น 4 เทอม ที่เรียกว่า Quata System ซึ่งนับ ช่วงปิดเทอมในฤดูร้อนและในฤดูหนาวเป็นเทอมด้วยและเปิดกระบวนวิชาการระยะสั้น

หลักสูตรใหญ่ใน 4 ปี: General Education ในช่วงแรก และ Special Education ในช่วงหลัง

ในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น นักศึกษาจะเรียนหนังสือตามหลักสูตรในแต่ละคณะและแต่ละสาขาก็จริง แต่ยังมีแนวโน้มภาพใหญ่ใน 4 ปี หลักสูตรในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นมีลักษณะที่ว่า ในช่วง 2 ปีแรก นักศึกษาเน้นการเรียนกระบวนการวิชาการที่กว้างขวาง ส่วนในช่วง 2 ปีหลังจะเน้นการเรียนของวิชาการเฉพาะทาง

ช่วง 2 ปีแรกที่เน้น General Education

ในช่วง 1-2 ปีแรก นักศึกษาจะลงทะเบียนหมวดวิชาการทั่วไป (教養科目, kyoyo-kamoku, General education) เป็นหลัก ซึ่งเป็นวิชาการที่กว้างขวาง เนี้อหาไม่ได้เฉพาะทางของวิชาการที่นักศึกษาเอก และมีกระบวนการวิชาการเฉพาะทาง (専門科目, senmon-kamoku, Special Education) เบื้องต้นด้วย

นอกจากกระบวนกาiวิชาการ ยังมีกระบวนการของภาษาต่างประเทศอีกด้วย นักศึกษามักจะเรียนภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศลำดับที่ 2 (第二外国語, daini-gaikokugo) นักศึกษาชอบเรียนภาษาต่างประเทศหลัก ๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมนี ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย เป็นต้นไป จนถึงละดับข้นกลาง

หลักสูตรในช่วง 1-2 ปีแรกได้อทธิพลจากแนวคิด Liberal Arts ในสหรัฐอเมริกา เพราะฉะนั้น มหาวิทยาลัยญี่ปุ่นเน้นการเรียนในช่วง 1-2 ปีแรกอย่างมาก มหาวิทยาลัยบางแห่ง เช่นมหาวิทยาลัยโตเกียว (東京大学, The University of Tokyo) และ ICU (国際基督教大学, International Christian University) มีหลักสูตรที่ว่า ตอนนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัยจะยังไม่เลือกคณะหรือสาขาอย่างชัดเจน หลังจากที่นักศึกษาเรียนหมวดวิชาการทั่วไปกว้างขวางและค้นหาเจอวิชาการที่ตนเองอยากจะศึกษาอย่างลึก ๆ แล้ว ค่อยเลือกคณะและสาขา

ช่วง 2 ปีหลังที่เน้น Special Education

เปรียบเทียบกับช่วง 2 ปีแรก นักศึกษาปี 3-4 เน้นการศึกษาในเชิงวิชาการเฉพาะทาง นอกจากกระบวนการวิชาการเฉพาะทาง ซึ่งเนี้อหานั้นลึกขึ้นไปมากกว่าช่วงปี 1-2 ยังมีหลักสูตรที่มีลักษณะชัดเจน 2 อย่าง ก็คือ 1. สัมมนา (ゼミナール, seminar) และ 2. ปริญญานิพนธ์ (卒業論文, sotsugyo-rombun)

ปลายปีของตอนอยู่ปี 2 นักศึกษาจะเลือก “สัมมนา (ゼミナール, seminar)” ของอาจารย์หนึ่งท่าน สัมมนา (ゼミナール, seminar) หรือ ゼミ (zemi) ก็คือกระบวนวิชาที่เน้นการแสดงออกและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ในตอนอยู่ปี 3 นักศึกษาอ่านวิทยานิพนธ์หรือหนังสือเฉพาะทางและนำเสนอความสรุปใจของเนี้อหานั้นพร้อมกับความคิดเห็นของตัวเอง นักศึกษาอื่น ๆ เมื่อฟังนำเสนองานแล้วจะตั้งคำถามหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตัวเอง จะได้รู้ความรู้หรือความสะสมของวิชาการที่ตัวเองสนใจหรือศึกษาอยู่ ในกรณีสัมมนาทางสายวิทย์ บางทีนักศึกษาเข้าร่วมโปรเจกต์กลุ่มวิชาการของอาจารย์หรือสัมมนา

หลังจากที่ได้ความรู้และมุมมองเชิงวิชาการเฉพาะทางแล้ว ในช่วงหลังปี 3 และช่วงปี 4 นักศึกษาจะทำงานวิจัยของตัวเองและเขียนปริญญานิพนธ์ (卒業論文, sotsugyo-rombun) หรือ 卒論 (sotsuron) ของตัวเอง เป็นผลรูปธรรมของการเรียนและการศึกษาในระดับปริญญาตรี

สรุป: ความหมายของการเรียนในระดับปริญญาตรีอยู่ตรงไหน?

ในบทความนี้ ผู้เขียนแนะนำรูปภาพของมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นและอธิบายหลักสูตรใหญ่ ๆ แต่ผู้อ่านบางคนอาจสงสัยว่า ความหมายของการเรียนในระดับปริญญาตรีในญี่ปุ่นอยู่ตรงไหน? มีลักษณะแนวคิดหรือปรัชญาที่ชัดเจนหรือไม่ อย่าง “born to be” ของระบบการศึกษาในอังกฤษ

ในมุมมองของผู้เขียน คำตอบก็คือ… ไม่มี

ระบบการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นก็คือสิ่งที่ถูกนำเข้าจากยุโรปอเมริกา ถ้าพูดถึงระบบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ได้อิทธิพลจากอเมริกาอย่างมาก เพราะฉะนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า ลักษณะของหลักสูตรในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นอยู่ตรงที่เน้น General Education ให้นักศึกษามีความรู้และแนวคิดกว้างขวาง ส่วนในระดับ Special Education นั้น บางคนกล่าวว่า “ลองเข้าไปดูโลกวิชาการ (Academic)” เราลองดูว่าโลกวิชาการเป็นอย่างไร ใช้แนวคิดอย่างไร เพราะฉะนั้น หากต้องการจะศึกษาวิชาการอย่างลึก ๆ จำเป็นต้องเรียนต่อระดับปริญญาโท ซึ่งไม่ต่างกันกับมหาวิทยาลัยในประเทศอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม ผ่านหลักสูตร Speacial Education เราจะได้ความสามารถที่คิดโดยใช้แนวคิดเชิงวิชาการ นักศึกษาจะได้เรียนทฤษฎีเชิงวิชาการ อ่านผลวิชาการที่คนอื่นสะสมไว้ สรุปแนวคิดเขาให้คนอื่นเข้าใจ มองดูสังคมหรือโลกจริง และตั้งคำถามของตัวเอง แสดงออกความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของเราในสังคมจริง ๆ

นอกจากหลักสูตร ที่น่าจับตามองก็คือ ชีวิตในมหาวิทยาลัยนั้นเอง มหาวิทยาลัยจะมีหอสมุดที่มีหนังสือเชิงเฉพาะจำนวนมาก ถ้าไปเคาะประตูของห้อง จะได้รู้จักกับอาจารย์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเชิงวิชาการของเขา ถ้ากินข้าวในโรงอาหาร จะได้เจอเพื่อน ๆ หลากหลายคนที่มีมุมมองต่าง ๆ

บางสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ บางคนเรียกว่า “4 Years Subscription” ในชีวิตทั้ง 4 ปีนั้น เราจะมีสิทธิ์ที่อยู่ในโลกความรู้และวิชาการได้

เพราะฉะนั้น ผู้เขียนหวังว่า ผู้อ่านของบทความนี้ที่สนใจการเรียนต่อที่ญี่ปุ่นจะได้มีเวลาที่สามารถใช้ชีวิตได้ด้วยปัญญาที่ญี่ปุ่นในอนาคต


บทความนี้เป็นบทความที่เขียนในโครงการ Study in Japan โดย APSthai อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Website ของ APSthai

APSthai Website

บทความนี้บน Website APSthai

いいなと思ったら応援しよう!