คนญี่ปุ่นที่ไม่สามารถสั่งแฮมเบอร์เกอร์เป็นภาษาอังกฤษได้: “พูดภาษาต่างประเทศได้” คืออะไร? [Study in Japan]
“พูดภาษาต่างประเทศได้” คืออะไร? ภาษาอังกฤษก็ตาม ภาษาญี่ปุ่นก็ตาม พวกเราใช้ประโยคนี้บ่อยมากในชีวิตประจำวัน ใคร ๆ ก็แอบใฝ่ฝันจะพูดภาษาอังกฤษเก่ง และบางทียังรู้สึกว่าเราต้องเรียนให้เก่งขึ้น แต่ความจริงก็คือ ไม่ค่อยมีใครสงสัยว่าการที่ “พูดภาษาต่างประเทศได้” หมายความว่าอะไร? ทำไมพวกเราถึงต้องเรียนภาษาต่างประเทศ? ทำไมพวกเราถึงต้องเป็นคนสามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้?
ครั้งนี้ ผมต้องการจะพิจารณาประเด็นเหล่านี้ เพราะคนในบ้านผมก็มีความรู้สึกเช่นนั้นเหมือนกัน
คนญี่ปุ่นไม่สามารถสั่งแฮมเบอร์เกอร์เป็นภาษาอังกฤษได้?
คนญี่ปุ่นที่จบมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ได้เรียนภาษาอังกฤษในห้องเรียนมาตั้งแต่ชั้นม.1 ช่วงนี้รัฐปรับปรุงแนวปฏิบัติของหลักสูตรแล้ว นักเรียนจึงจำเป็นต้องเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นป.5 แต่เท่าที่ผมได้ข่าวหรืออ่านหนังสือที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่คุยเรื่องหลักสูตรการศึกษาในประชุมของรัฐ ผู้ร่วมกัน (โดยเฉพาะผู้คนในภาคอุตสาหกรรม) บางคนเอ่ยว่า
“ต่อให้คนญี่ปุ่นเรียนภาษาอังกฤษมามากกว่า 10 ปี สั่งแฮมเบอร์เกอร์เป็น
ภาษาอังกฤษก็ไม่ได้”
บางคน (เกือบ) ด่าในประชุมว่า
“โรงเรียนญี่ปุ่นสอนแค่ไวยากรณ์และการอ่านเท่านั้นในห้องเรียน! ถ้าสอนแบบนั้นต่อเนื่อง ผู้เรียนก็จะพูดไม่ได้หรอก!!!”
คุณอาจรู้สึกว่าแรงมาก แต่ประเด็นเหล่านี้ถูกอภิปรายมาหลายทศวรรษแล้ว
เปรียบเทียบกับคนในอเมริกา-ยุโรป จำนวนคนญี่ปุ่นที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อาจค่อนข้างน้อย กว่าจะสามารถพูดได้ ก็อาจใช้เวลามานานแล้ว มากว่าคนในอเมริกา-ยุโรปเรียน อย่างน้อยทุกคนมีความคิดเห็นแบบนี้
เหตุผลที่คนญี่ปุ่นไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ก็ถูกอภิปรายมานานแล้วเหมือนกัน ตั้งสมมติฐานมาหลากหลายอย่าง เช่น “ไวยาการณ์ต่างกันระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาญี่ปุ่น (อันนี้น่าจะใช่ ภาษาอังกฤษสร้างประโยคแบบ SVO -คำประทาน คำกริยา และ กรรม ส่วนภาษาญี่ปุ่นเรียงคำแบบ SOV -คำประทาน กรรม และ คำกริยา)” “คนญี่ปุ่นมักไม่มีโอกาศที่ทำงานกับคนต่างชาติมานาน เพราะอยู่ในเกาะเล็ก ๆ” “คนญี่ปุ่นไม่พูดตั้งแต่เดิม แม้ว่ามีความคิดเห็น ก็ไม่ค่อยแสดงออก” “ครูไม่สามารถสอนการพูดได้ เพราะเขาก็ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้” ฯลฯ
ไม่มีใครรู้ว่าเหตุผลแท้จริงอยู่ตรงไหน ไม่มีใครรู้ว่ามีจำนวนคนที่พูดได้หรือพูดไม่ได้ประมาณเท่าไร แต่อย่างไรก็ตาม คนญี่ปุ่นบางส่วน (อันนี้ก็ไม่แน่ใจว่ากี่คน!) รู้สึกว่าพวกเราไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ซึ่งมันไม่ดี ซึ่งมันไม่ได้ เพราะฉะนั้น จะใฝ่ฝั่นคนที่พูดภาษาอังกฤษคล่อง ๆ ต้องเป็นคนที่พูดภาษาอังกฤษคล่อง ๆ พวกเราเรียกแนวนิดแบบนี้ว่า ペラペラ幻想 (pera-pera-genso, มายาคติพูดคล่อง ๆ)
สถานการณ์แท้จริงก็คือ ใคร ๆ ก็ไม่รู้เหตุผล ไม่รู้สภาพแท้ ๆ แต่แอบมี ペラペラ幻想 (pera-pera-genso, มายาคติพูดคล่อง ๆ) ในใจ ยืนยันว่าคนญี่ปุ่นขาดความสามารถด้านภาษาอังกฤษ และเรียกร้องการปฏิรูปการศึกษาโดยไม่มีความรู้ด้านนี้ แต่ไม่ค่อยมีคนที่ตั้งคำถามว่า “พูดภาษาต่างประเทศได้” คืออะไร?
ความสามารถด้านภาษาหลากหลายประเภท
ผมเขียนคำว่า “พูดภาษาต่างประเทศ” มาตลอดในบทความนี้ แต่การใช้ภาษามีแค่ “การพูด” หรือไม่ คำตอบจากผมก็คือ มีทักษะฝีมือด้านภาษาหลากหลายอย่าง โอกาสที่ใช้ภาษาก็หลากหลายอย่าง ความสามารถด้านภาษาก็มีหลากหลายประเภท
ขอยกเรื่องส่วนตัวของผู้เขียนนะครับ ผมเอกภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น เรียนภาษาไทยมาได้ครบ 4 ปี และเคยไปเรียนที่มหาวิทยาลัยในเมืองไทยเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนประมาณ 1 ปี และเขียนบทความชิ้นนี้เป็นภาษาไทยอีกด้วย
ในเวลามีคนถามมาว่า
“เรียนภาษาไทยเหรอ?! ใช้ภาษาไทยได้ใช่ไหม?”
ผมไม่กล้าหาญที่จะตอบว่า
“ใช่ครับ ผมสามารถใช้ภาษาไทยได้!”
ผมตอบแทนว่า
“ก็…ถ้าเป็นสนทนาในชีวิตประจำวัน ก็ไม่ค่อยมีปัญหา คุยกันสนุกสนาน ถ้าเป็นบรรยายเกี่ยวกับสังคมสาตร์ ฟังได้ เข้าใจครบ และทำความนำเสนอเชิงวิชาการ เป็นภาษาไทยได้ อ่านบทความหรือวิทยานิพนธ์ได้ ชอบอ่านนวนิยายไทยด้วย ส่วนการเขียน ผมไม่ค่อยถนัด ในเวลาสอบหรือเขียนรายการ ก็ต้องใช้เวลาอย่างมากไป อีกทั้ง ร้องเพลงไทยไม่ค่อยเก่ง…!”
ผู้ถามคนนั้นอาจรู้สึกว่าคนนี้เบื่อ (ซึ่งมันใช่!) อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าภาษาที่จำเป็นต้องอ่าน ฟัง พูด หรือ เขียน ในคาบวิชาของมหาวิทยาลัยกับภาษาในชีวิตประจำวันเป็นคนละอันกัน และแต่และฝีมือของภาษา (อ่าน ฟัง พูด เขียน) ก็แตกต่างกัน บางอย่างเรียนง่าย เก่งขึ้นรวดเรว บางอย่างเรียนยาก อาจไม่เก่งขึ้นทันที อย่างไรก็ตาม ความสามารถด้านภาษาก็มีหลากหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับว่าใช้ภาษานั้นในกรณีไหน วิธีแบบนั้น และระดับแบบไหนบ้าง ไม่ใช่ว่าความสามารถด้านภาษาเป็นสิ่งที่วัดได้โดยมาตรฐานอันเดียวกัน
ย้อมกลับเรื่อง ペラペラ幻想 (pera-pera-genso, มายาคติพูดคล่อง ๆ) ในญี่ปุ่นแล้ว จะได้รู้สึกว่าความอภิปรายเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนก็แคบมาก ถ้าพูดถึงเรื่องการเรียนมัธยมศึกษา โดยเฉพาะ ม.ปลาย เป้าหมายของการเรียนหลัก ๆ ก็คือได้ความรู้กว้างขวางและทักษะฝีมือเชิงวิชาการ เพื่อจะเรียนต่อและทำงานวิจัยเชิงเฉพาะในระดับมหาวิทยาลัยให้ได้ เพราะฉะนั้น ในมุมมองผู้กำหนดหลักสูตร นักเรียนจึงจำเป็นต้องเรียนภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการเรียนการทำวิจัยในระดับมหาวิทยาลัย นักเรียนจะเตรียม เพื่ออ่านบทความและเก็บข้อมูลที่จำเป็นต้องรู้ให้ได้ ฟังบรรยายเป็นภาษาอังกฤษให้ได้ เขียนเรียงความเชิงวิชาการให้ได้ และนำเสนอหรือแลกความคิดเห็นของตัวเองให้ได้ในมหาวิทยาลัย
เมื่อซักครู่ผมยกเรื่องของคนที่บอกว่า คนญี่ปุ่นสั่งแฮมเบอร์เกอร์เป็นภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ ผมแอบขำและพึมพัมใจว่า ภาษาอังกฤษที่จำเป็นต้องได้เรียนรู้ในระดับปริญญาตรีสำหรับคุณก็คือ ภาษาเพื่อสั่งแฮมเบอร์เกอร์ร้านอาหารฟาสต์ฟูดเหรอ ส่วนสำหรับคนที่ด่าว่าโรงเรียนญี่ปุ่นสอนแค่ไวยากรณ์และการอ่านเท่านั้นเลยคนญี่ปุ่นพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ผมรู้สึกว่า คุณ “พูด” ภาษาอังกฤษไม่ได้เพราะคุณไม่ได้ตั้งใจเรียนในสมัยนักเรียนหรอก ไม่ใช่ว่าเพราะหลักสูตรหรือระบบการศึกษา
เรียนภาษาต่างประเทศเพื่อไปเรียนที่ต่างประเทศ
ผมอธิบายนิดนึงมาว่าความสามารถด้านภาษาก็มีหลากหลายประเภท ไม่ใช่สิ่งที่วัดโดยไม้บรรทัดไม้เดียว ถ้าอย่างนั้น นักเรียนที่ต้องการจะไปเรียนต่างประเทศควรได้ความสามารถด้านภาษาแบบไหนบ้าง? ต้องเรียนฝีมือไหนบ้าง?
ผมคิดว่าเน้นการเรียนภาษาที่ใช้ในคาบเรียนหรือคาบวิชา โดยเฉพาะการอ่านก่อน นักเรียนนักศึกษาจำเป็นต้องอ่านหนังสือหรือเอกสารเป็นภาษาของประเทศนั้นตลอดจนถึงจบสำเร็จเรียน อ่านหนังสืออย่างลึก ๆ ตามตรรกะให้ตัวเองเข้าใจ อ่านหนังสืออย่างลึก ๆ และสรุปความให้อธิบายกับคนอื่นได้ นี่ก็คือสิ่งที่เจอในห้องเรียนโดยประจำวัน แม้ว่าอังกฤษหรือญี่ปุ่นก็ตาม
พออ่านหนังสืออย่างดี ๆ ได้ ค่อยเริ่มฝีมืออื่น โดยเฉพาะการเขียน ในภาษาสำหรับวิชาการ ความสามารถด้านการเขียนได้ยากมากที่สุด แต่ในคาบวิชาในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ก็มีโอกาสที่ต้องเขียนอย่างมาก เช่น รายการและการสอบ การเขียนก็หนีไม่พ้น
ต่อให้ภาษาไม่ใช่สิ่งที่วัดโดยไม้บรรทัดไม้เดียว แน่นอนว่าฝีมือแต่ละอัน (อ่าน ฟัง พูด เขียน) เชื่อมโยงกัน ถ้าอยากจะเขียนให้ได้ ก็ต้องฝึกการอ่านด้วย ถ้าอยากจะพูดให้ได้ ก็ต้องฝึกการฟังด้วย
ส่วนภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น คุยกับเพื่อน สั่งแฮมเบอร์เกอร์นั้น ไม่ต้องห่วง แน่นอนว่าก็ต้องฝึก แต่ไม่ยากเท่ากับภาษาที่ใช้ในวิชาการ อยู่ในสิ่งแลดล้อมที่ต้องใช้แล้ว จะได้เก่งขึ้นทันที
ไม่สามารถสั่งแฮมเบอร์เกอร์ได้ก็ไม่เป็นไร ความสามารถด้านภาษาก็หลากหลาย วัดด้วยไม้บรรทัดไม้เดียวไม่ได้ พิจารณาอย่างดี ๆ ว่าเราจำเป็นต้องมีทักษะฝีมือในภาษาแบบไหนบ้าง ต้องเรียนแบบไหนเพื่อให้ได้ ผมหวังว่าผู้อ่านทุกคนจะได้เรียนรู้อะไรสักอย่างที่สำคัญกับตัวเองเป็นภาษาต่างประเทศ ในระหว่างการเรียนที่ต่างประเทศนะครับ
บทความนี้เป็นบทความที่เขียนในโครงการ Study in Japan โดย APSthai อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Website ของ APSthai
APSthai Website
บทความนี้บน Website APSthai
https://studyuk.in.th/2023/05/03/why-cant-japanese-order-burgers/