【APSthai】ทำไมต้องเรียนตัว “คันจิ” ? -วิธีเข้าใจ “ญี่ปุ่น” อย่างลึก [Study in Japan]
แน่นอนว่าผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นทุกคนเคยรู้สึกว่า ทำไมถึงจำเป็นต้องมีตัว “คันจิ” มันเป็นภาษาจีนไม่ใช่เหรอ จำครบได้อย่างไร มีประโยชน์จริง ๆ หรือเปล่า ความจริงก็คือ จำเป็นต้องรู้คันจิ เพื่ออาศัยหรือเรียนต่อในญี่ปุ่น อีกทั้ง เรียนตัวคันจิอย่างดี ๆ จะได้เข้าใจคนญี่ปุ่นและวัฒนธรรมของเขาอย่างลึก ๆ
บทความนี้ ผู้เขียน ซึ่งเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากญี่ปุ่น จะแนะนำประวัติของตัวอักษรในญี่ปุ่น บทบาทของตัวคันจิในสังคมญี่ปุ่น และคอยอธิบายว่าทำไมถึงต้องเรียนตัวคันจิเพื่อเข้าใจญี่ปุ่นอย่างดี
“คันจิ” คืออะไร?
ภาษาญี่ปุ่นมีตัวอักษรตั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ฮิรางานะ(ひらがな)กาตากานะ(カタカナ)และ คันจิ(漢字)ฮิรางานะ กับ กาตากานะ เป็น Phonogram ซึ่งเป็นตัวอักษรที่สะท้อนคำพูดเสียงของภาษานั้น ๆ ส่วน คันจิ เป็น Ideogram ซึ่งแต่ละตัวมีความหมายของตัวตนเอง ปกติคนญี่ปุ่นเขียนประโยคโดยฮิรางานะกับคันจิ และในเวลาต้องใช้คำศัพท์ที่ได้ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ จะใช้กาตากานะ
ที่น่าสนใจก็คือ ตัวคันจิถูกนำเข้าจากจีนถึงญี่ปุ่นในสมัยโบราณ และทั้งตัวฮีรากานะและตัวกาทากานะถูกสร้างมาจากตัวคันจิ ถ้าอย่างงั้น ทำไมถึงญี่ปุ่นต้องนำเข้าตัวอักษรจากจีนในสมัยโบราณ
ประวัติศาสตร์ของ “คันจิ”
เราเขียนคำ “คันจิ” เป็นภาษาญี่ปุ่นว่า 漢字 ตัว 字 หมายถึง “ตัวอักษร” ส่วนตัว 漢 หมายถึง “จีน (ในสมัยโบราณ)” เพราะฉะนั้น 漢字 มีความหมายว่า “ตัวอักษรจีน”
ในศตวรรษที่ 4-5 ตัวคันจิเข้ามาถึงเกาะญี่ปุ่นมาจากจีนผ่านคาบสมุทรเกาหลี ก่อนหน้านั้น ญี่ปุ่นก็มีภาษาของตัวเองก็จริง แต่ดูเหมือนว่าไม่มีตัวอักษร ตอนแรก ตัวคันจิถูกใช้โดยข้าราชการในรัฐบาล เพื่อเขียนเอกสารเกี่ยวกับการเมืองเป็นภาษาจีนเท่านั้น
ในสมัยศตวรรษที่ 8 ค่อยเกิดกระแสที่ว่าลองเขียนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ตัวคันจิ ในปลายศตวรรษที่ 8 บทกวีที่ชื่อว่า “Man’yoshu (万葉集)” ถูกเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่น แต่ใช้ตัวคันจิเพื่อเขียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตัวอักษร พอเกือบ 150 ปีผ่านไปแล้ว วรรณกรรมที่ชื่อว่า “Tosa Nikki” ถูกเขียนโดย Tsurayuki Kino(紀貫之)ในค.ศ. 934 ผลงานนี้เป็นผลงานแรกที่ถูกเขียนเป็นกานะโมจิ (仮名文字) ซึ่งเป็นตัวอักษรเดิมของฮีรากานะ
ตั้งแต่นั้นมา ตัวคันจิจะถูกใช้เวลาเขียนเอกสารราชการ ส่วนในเวลาเขียนเรื่องอื่น ๆ ซึ่งเรื่องในชีวิตประจำวัน ใช้กานะโมจิ
นอกจากญี่ปุ่น เกาหลี รีวกีว (โอะกินะวะในปัจจุบัน) และเวียดนามเคยนำเข้าตัวคันจิและใช้ในเมืองตัวเอง แต่โดยส่วนใหญ่ไม่ใช้ตัวคันจิเป็นทางการแล้ว อย่างเช่น เวียดนามเคยใช้ตัวคันจิ แต่ปัจจุบันนี้เขียนภาษาของตัวเองโดยใช้อักษรโรมัน (Roman alphabet)
ปัจจุบันนี้ ญี่ปุ่นยังใช้ตัวคันจิทั้งเป็นทางราชการและทางชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นรู้สึกลำบาก จริง ๆ แล้ว คนญี่ปุ่นก็ต้องตั้งใจเรียนตัวคันจิในโรงเรียนด้วย เพื่อให้เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในประเทศญี่ปุ่น นักเรียนญี่ปุ่นจำเป็นต้องเรียนตัวคันจิ 1,026 ตัวในระดับประถมศึกษา และ 1,110 ตัวในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ถ้าอย่างงั้น คนญี่ปุ่นใช้ตัวคันจิอย่างไรบ้าง?
ลักษณะและบทบาทของตัว “คันจิ”
ในเวลาพิจารณาบทบาทของตัวคันจิ เราจำเป็นต้องรู้ลักษณะของตัวคันจิ ก็คือ 1. ตัวคันจิทุกตัวมีความหมายของตัวเอง 2. คำศัพท์ที่ประกอบด้วยตัวคันจิจะถูกใช้ในกรณีที่ต้องการจะเขียนประโยคที่สุภาพ
ลักษณะที่ 1: ตัวคันจิทุกตัวมีความหมายของตัวเอง
อย่างที่เกริ่นไปแล้วข้างต้น ตัวคันจิเป็น Ideogram ซึ่งแต่ละตัวมีความหมายของตัวตนเอง เพราะฉะนั้น คำศัพท์ที่ถูกเขียนเป็นตัวคันจิจะถูกอธิบายด้วยความหมายของคันจินั้น ๆ
อย่างเช่น คำกริยา 想像する(sozo-suru)หมายความว่า “จินตนาการ” คำนี้ประกอบด้วยคันจิ 2 ตัว ตัว 想 มีความหมายว่า “นึกถึง” หรือ “นึกออก” ส่วนตัว 像 หมายถึง “ภาพ” เพราะฉะนั้น เราสามารถอธิบายคำว่า 想像する โดยความหมายของตัวคันจิได้ว่า “การที่นึกถึงภาพอะไรสักอย่าง” (ก็คือ “การที่จินตนากรอะไรสักอย่าง”)
ส่วนในภาษาญี่ปุ่นมีคำว่า 創造する(sozo-suru)อีกด้วย ซึ่งสำเนียงเดียวกับคำว่า 想像する แต่ความหมายไม่เดียวกัน คำว่า 創造する ประกอบด้วยตัว 創 และตัว 造 ทั้งสองตัวมีความหมายว่า “สร้างออกมา” เพราะฉะนั้น คำว่า 創造する ก็มีความหมายว่า “สร้างอะไรสักอย่างที่ไม่มีใครทำมาก่อน” เราสามารถเข้าใจได้ว่า คำ 想像する กับ 創造する มีความมหายคำละอันกันเพราะมีคันจิ
อย่างนี้ คันจิมีบทบาทที่อธิบายความหมายของคำศัพท์คำนั้นให้ชัดเจน
ลักษณะที่ 2: คำศัพท์ที่ประกอบด้วยตัวคันจิถูกใช้ในกรณีที่เขียนประโยคที่สุภาพ
ในยามค้นหาคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นโดยพจณานุกรม คุณอาจเคยเจอสถานการณ์ที่ว่า มีคำศัพท์หลากหลายคำ ไม่รู้ว่าใช้อันไหนดี อย่างเช่น คำว่า “ความสุข” ในพจณานุกรมมี 2 คำก็คือ
幸せ(shiawase)
幸福(kofuku)
ทั้งสองอย่างมีความหมายว่า “ความสุข” คนญี่ปุ่นมีความรู้สึกว่าอันที่ 2 เป็นคำยากหรือคำสุภาพกว่าอันที่ 1 และปกติอันที่ 2 ใช้ตัวคันจิ 2-3 ตัว เรียกว่า 熟語(juku-go)อันที่ 1 คือคำศัพท์ที่มาจากภาษาญี่ปุ่นและเอาคันจิให้อ่านเป็นภาษาญี่ปุ่นเหมือนเดิม ส่วนอันที่ 2 คือคำศัพท์ที่ (อาจ) มาจากภาษาจีนแต่อ่านเป็นเสียงของภาษาญี่ปุ่น นอกจาก “ความสุข” ยังมีคู่คำศัพท์แบบนี้จำนวนมาก เช่น “歩く/歩行 (เดิน)” “信じる/信仰 (เชื่อถือ)” “勝つ/勝利(ชนะ)” ฯลฯ
อีกทั้ง คำศัพท์แบบอันที่ 2 ถูกใช้ในฉากเป็นทางการ อย่างเช่น บทความ ข่าว สุนทรพจน์ คาบวิชา เอกสารต่าง ๆ ฯลฯ ในสมัยก่อน คันจิถูกนำเข้าจากจีน สมันนั้น คำศัพท์ด้วยคันจิ ซึ่งมาจากภาษาจีนอย่างอันที่ 2 ถูกข้าราชการใช้เพื่อเขียนเอกสารทางการเมือง ชาวบ้านใช้แต่คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นง่าย ๆ อย่างอันที่ 1 บัจจุบันนี้ คนญี่ปุ่นใช้ตัวคันจิด้วยคำศัพท์ง่าย ๆ ด้วย แต่ลักษณะที่ว่าจะใช้คำศัพท์ยากอย่างอันที่ 2 ในฉากเป็นทางการยังเหลืออยู่ ในเวลาที่ต้องการจะรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่น เราจำเป็นต้องอ่านข้อมูลที่มาจากที่มาที่น่าเชื่อถือ ซึ่งคำศัพท์ 熟語(juku-go)อย่างมาก
เรียนตัวคันจิ เพื่อเข้าใจอย่างดี และเพื่อให้เข้าใจอย่างดี
อย่างที่ได้อธิบายเหล่านี้ คันจิมีบทบาทที่อธิบายความหมายของคำศัพท์คำนั้นให้ชัดเจน และมักถูกใช้ในฉากเป็นทางการ จริง ๆ แล้ว ในสังคมญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้ มีคำศัพท์มาจากภาษาต่างประเทศค่อนข้างมาก และบางที่ถูกเขียนเป็นตัวกาทะกานะให้อ่านตามภาษาเดิม เช่น “スマートフォン(smart phone)” “コンピューター(computer)” “インターネット(internet)” ฯลฯ
คำศัพท์ที่มาจากต่างประเทศโดยส่วนใหญ่ถูกแปลถึงภาษาญี่ปุ่น หรือสร้างออกมาเป็นคำศัพท์ใหม่โดยใช้เอาคันจิมาใช้ตามความมหายของคำศัพท์นั้น ตั้งแต่สมัยเมจิ (明治) แต่บางคำแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นไม่ทัน ในสมัยทศวรรษที่ 1890 หรือสมัยเมจิ ยังไม่มี smart phone หรือ computer พวกนั้นเพิ่งเข้ามาในศตวรรษที่ 20 เพราะฉะนั้น ทุกคนเรียกพวกนั้นโดยเลียนแบบวิธีออกเสียงเป็นภาษาเดิม ก่อนที่คำแปลออกมา
หรือไม่ก็ บางทีไม่มีคำศัพท์ที่เหมาะสมในภาษาญี่ปุ่น คำว่า communication เป็นตัวอย่างที่ดี เราใช้คำว่า コミュニケーション(komyunikeshon)เป็นกาทะกานะ เพราะไม่มีคำศัพท์ที่เหมาะกับความหมายของคำเดิม คนญี่ปุ่นชอบใช้คำว่า コミュニケーション แต่โดยส่วนใหญ่ ใช้ด้วยไม่มีความนิยามที่ชัดเจน เพราะฉะนั้น คำว่า コミュニケーション มักทำให้เกิด miscommunication บ่อย ๆ
นอกจากนั้น ยังมีคำศัพท์ที่มักเขียนเป็นตัวกาทากนะ แม้ว่ามีคำแปลแล้วก็ตาม เช่น “シナジー(synergy, 相乗効果)” “コミットメント(commitment, 貢献度)” “ビジビリティ(visibility, 可視度)” “コストパフォーマンス(cost performance, 費用対効果)” ฯลฯ ทำให้ผู้ฟังไม่ค่อยเข้าใจว่าเขาอยากเล่าให้ฟังอะไร และบางที่ผู้ใช้คำแบบนี้ก็ไม่ค่อยเข้าใจความหมายอย่างชัดเจน ส่วนถ้าใช้คำศัพท์ด้วยเขียนคันจิ เราสามารถเข้าใจหรือสันนิษฐานจากความหมายของตัวคันจิได้ จะได้สื่อสารกันอย่างดีด้วย
ผู้เรียนทุกคนจะสงสัยว่าทำไมถึงต้องลำบากขนาดนี้ด้วยตัวอักษร ไม่มีก็ได้มั้ง? แต่แน่นอนว่า “คันจิ” มีประโยคเพื่อเข้าใจสิ่งที่เขาพูด หรือเพื่อให้เขาเข้าใจเรื่องที่เราพูดอย่างชัดเจน
สำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น หรือสนใจการเรียนต่อที่ญี่ปุ่น คันจิก็คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่พอเรียนแล้ว เราสามารถเข้าใจ “ญี่ปุ่น” อย่างลึกได้
บทความนี้เป็นบทความที่เขียนในโครงการ Study in Japan โดย APSthai อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Website ของ APSthai
APSthai Website
บทความนี้บน Website APSthai